การดำเนินการเรื่องขยะชุมชนแบบครบวงจร

การคัดแยกแปรรูปขยะชุมชน เป็นเชื้อเพลิงแข็งทดแทน (RDF)

ความเป็นมา
       ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่กำลังเผชิญกับภาวะวิกฤติขยะล้นเมืองอย่างรุนแรง ขยะส่วนใหญ่ยังมีการจัดการแบบไม่ถูกวิธี นับเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับสภาพแวดล้อม สุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิต
        
       จากความสำเร็จในการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรมโดยวิธีการเผาร่วมกับการผลิตปูนซีเมนต์ (Co-Processing) ทำให้บริษัทได้เริ่มศึกษาและพบว่า ขยะชุมชนกว่าร้อยละ 20 ของขยะที่เกิดขึ้น สามารถมาทำเชื้อเพลิงทดแทนได้ บริษัทจึงพยายามคิดค้นเทคโนโลยีในการนำขยะชุมชนมาแปรสภาพจากขยะไร้ค่า ให้เป็นเชื้อเพลิงแข็งทดแทน หรือที่เรียกว่า RDF (Refuse Derive Fuel)

ลักษณะของขยะชุมชนที่สามารถมาแปรสภาพเป็นเชื้อเพลิงแข็งทดแทน

       ขยะชุมชนที่มีคุณลักษณะ สามารถนำมาแปรสภาพเป็นเชื้อเพลิงแข็งทดแทน ควรเป็นขยะชุมชนที่ผ่านการคัดแยกออกจากขยะอินทรีย์ และเป็นขยะส่วนที่เผาไหม้ได้ที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้อีก




กระบวนการนำเชื้อเพลิงแข็งทดแทนไปใช้ในเตาเผาปูนซีเมนต์
       เชื้อเพลิงแข็งทดแทน ที่ผ่านกระบวนการคัดแยกแล้ว จะถูกนำมาเช้ากระบวนการย่อยละเอียด เพื่อให้ได้ขนาด 50 มิลลิเมตร จากนั้นจะถูกลำเลียง ด้วยรถขนส่งที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อใช้ลำเลียง RDF เข้าเตาเผาปูนซีเมนต์ได้ โดยทุกขั้นตอนจะถูกออกแบบเป็นระบบปิด ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผู้ปฎิบัติงาน


ขั้นตอนปฎิบัติการวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพ
       การนำเชื้อเพลิงแข็งทดแทนมาใช้เชื้อเพลิงทดแทนในเตาเผาปูนซีเมนต์ จะต้องตรวจสอบและวิเคราะห์คุณสมบัติทั้งทางกายภาพและทางเคมี เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถนำ RDF มาใช้ทดแทนเชื้อเพลิงหลักโดยไม่ส่งผลกระทบทั้งทางด้านชีวอนามัยความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมรวมถึงคุณภาพของปูนซีเมนต์ด้วย

 
กระบวนการแปรสภาพขยะชุมชนเป็นเชื้อเพลิงแข็งทดแทน


ระบบการขนส่งขยะเชื้อเพลิงแข็งทดแทน

       หลังจากที่ผ่านกระบวนการคัดแยกแล้ว RDF จะถูกนำเข้าเครื่องอัดก้อน โดยใช้ระบบไฮโดรลิก ให้มีความหนาแน่นสูงขึ้น 3-5 เท่า ซึ่งขั้นตอนนี้จะช่วยเพิ่มปริมาณในการขนส่งให้มากขึ้น และหลังจากการอัดก้อนแล้ว RDF จะถูกห่อด้วยพลาสติกฟิล์ม และปิดคลุมด้วยผ้าใบให้มิดชิดตลอดเส้นทางการขนส่ง เพื่อป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมขณะขนส่ง


แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
       SCIeco ได้ตระหนักและให้ความสำคัญต่อแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงพยายามคิดค้นนวัฒกรรมในการเปลี่ยนขยะอุตสาหกรรมและขยะชุมชนให้มาเป็นพลังงานทดแทนและวัตถุดิบทดแทน โดยสามารถใช้เผาร่วมในการผลิตปูนซีเมนต์ (Co-Processing in Cement Kiln) เพื่อช่วยลดปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นผลพลอยได้จากการลดปริมาณการใช้ถ่านหินในการผลิตปูนซิเมนต์ ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวทางในการปฎิบัติ เพื่อการพัฒนาที่ยังยืนอย่างเป็นรูปธรรม